การจะพูดคุยกันให้เข้าใจกับช่าง บางครั้งเราต้องเรียนรู้คำศัพท์ที่ช่างใช้เอาไว้สักหน่อย เพื่อที่จะได้สื่อสารกันเข้าใจ และแน่ใจได้ว่าเราเข้าใจตรงกันกับเรื่องที่ช่างเขานำเสนอ เรื่องของ “ศัพท์ช่าง” ก็เป็นอีกหนึ่งหมวด ที่ ช่างเชียงใหม่ อย่าง E-Fix เว็บสำหรับคน หาช่างเชียงใหม่ อยากจะนำมาเล่าให้ฟัง ซึ่งเรื่องนี้สืบต่อจากครั้งก่อนเราได้เล่ากันไปถึงประเด็น “ไฟดูดนานแค่ไหนถึงจะเป็นอันตราย” ซึ่งจบลงทิ้งท้ายการบอกเรื่องปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่ร่างกายต่อระยะเวลา ซึ่งปริมาณกระแสที่กล่าวในครั้งก่อน เขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า mA และ A ซึ่งเราเชื่อว่า มีหลายๆ ท่านที่ยังสงสัยใประเด็นนี้ ว่าเจ้า mA กับ A นี่มันคืออะไร ไฟดูดทำไมต้องดูที่จุดนี้…

 

ไฟดูดนานแค่ไหนถึงจะเป็นอันตราย

กรณี มีปริมาณกระแส 100 mA ร่างกายทนได้ประมาณ 3 วินาที ก่อนจะเป็นอันตราย

 

กรณี มีปริมาณกระแส 500 mA ร่างกายทนได้ประมาณ 0.11 วินาที ก่อนจะเป็นอันตราย

 

กรณี มีปริมาณกระแส 1 A ร่างกายทนได้ประมาณ 0.03 วินาที ก่อนจะเป็นอันตราย

 

นี่เป็นข้อมูลจากครั้งก่อน ที่ E-Fix เว็บของคน หาช่างเชียงใหม่ นำมาเทียบให้เห็น ว่าร่างกายคนเราทนได้เป็นเวลานานแค่ไหน เทียบกับปริมาณไฟฟ้าที่เข้าสู่ร่างกาย ที่มีหน่วยบอกเป็น mA และ A เรื่องนี้ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า มันคืออะไร เพราะปกติเวลาเราพูดเรื่องไฟฟ้า เรามกจะกล่าวถึงเรื่องของ โวลต์ (Volt หรือ ตัวย่อ V) เป็นส่วนใหญ่ และ มักเชื่อกันว่า ยิ่งตัวเลขหน้า V มาก ก็ยิ่งเป็นอันตรายมาก เช่น โดนไฟบ้าน 220 V ดูด เป็นอันตราย ก็จริง แต่ไฟฟ้าแรงสูงที่เป็นพันหรือเป็นหมื่น V ย่อมอันตรายมากกว่า ทำให้ไหม้เป็นเถ้าถ่านในเวลาสั้นๆ ได้ อะไรประมาณนั้น… แต่อยากบอกว่า บางครั้งมันเป็นความเข้าใจที่ผิด… จริงเป็นเรื่องที่เราอยากจะนำมาเสนอเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ในเรื่องของไฟฟ้า…

 

A  และ mA คืออะไร…

ในสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า A  และ mA  จากข้อความก่อนหน้า หมายถึง แอม และ และ มิลลิแอมป์ ถ้าเรียกให้เป็นคำเต็มจะเรียกว่า แอมแปร์ (Ampere) ซึ่งมันคือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ดังนั้น เมื่อเรากล่าวกันถึงเรื่องไฟดูด การพูดถึง A และ mA จึงเป็นการพูดถึง ปริมาณของกระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่านร่างกายของเรา จะเห็นได้ว่า ยิ่งมีปริมาณกระแสไฟฟ้ามาก ระยะเวลาที่ร่างกายทนได้ก่อนจะเป็นอันตรายก็ยิ่งลดลง

 

V คือ อะไร

V ใน ศัพท์ช่างไฟฟ้า หมายถึง Volt หรือ โวลต์ ซึ่งมันคือ หน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า

 

ทำไมดูที่แอมป์ แทนที่จะดูที่โวลต์

ประเด็นนี้เชื่อว่าหลายท่านคาใจ ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเกิดจากความคุ้นชินกับหน่วยโวลต์ (V) มากกว่า และเรามักพบเห็นการพูดถึงเรื่องโวลต์ของไฟฟ้ากันเสมอในชีวิตประจำวัน ส่วน แอมป์ หรือ แอมแปร์ มักได้ยินผ่านๆ บางคนก็ได้ยินจากเรื่องเครื่องเสียง แต่โดยมากมักไม่คิดว่ามันเกี่ยวข้องกับเวลาไฟดูด และไม่เข้าใจ ว่าเอา แอมป์ มาให้ดูทำไม…

จริงๆ แล้ว การดูที่โวลต์ก้ไม่ได้ผิด และเป็นจริงว่าไฟที่ โวลต์สูงๆ เป็นอันตรายมากกว่าโวลต์ต่ำ แต่อย่างไรก็ดี นั่นไม่เสมอไป ลองนึกถึง เครื่องช็อตไฟฟ้า บางเครื่องมีการระบุว่ามีโวลต์สูงหลักพันหลักหมื่นโวลต์เลยทีเดียว แต่ช็อตเข้าจริงๆ ไม่ได้ทำให้คนกลายเป็นขี้เถ้า เรื่องนี้เกิดจากมันมีแรงดันสูงก็จริง แต่ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าไปในตัวเราถ้ามีไม่มาก ก็ไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายรุนแรงมากนัก (ความรุนแรงจากการถูกไฟดูดขึ้นกัอยู่บปัจจัย 3 ประการ คือ  1. ตำแหน่งของร่างกายที่มีการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า 2. ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ร่างกายของเราได้รับเข้าไป และ 3. ระยะเวลาที่เกิดการไหลผ่านร่างกายของกระแสไฟฟ้า)

นี่เป็นเหตุผลว่า “ไฟดูดทำไมต้องดูที่แอมป์” ที่ E-Fix เว็บ หาช่างเชียงใหม่ อยากนำมานำเสนอ เชื่อว่าคงพอจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย